Month: October 2019

ประเภทเลนส์สายตา..

ประเภทเลนส์สายตา..

ประเภทเลนส์สายตา.. เลนส์แว่นสายตาในท้องตลาดมีหลากหลาย สำหรับวันนี้เราจะพูดถึงเลนส์แว่นตาชนิดต่าง ๆ โดยจะแบ่งตามการใช้งาน เริ่มตั้งแต่ เลนส์แรก เราจะเรียกว่า “เลนส์ชั้นเดียว” (Single vision lens) เลนส์ชั้นเดียวเป็นเลนส์ทั่วไปสำหรับแก้ไขปัญหาค่าสายตาที่ระยะใดระยะหนึ่ง มีค่าสายตาเดียวสำหรับแก้ไขค่าสายตา ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง สำหรับคนที่สายตาสั้น ภาพที่ตกบนจอตาซึ่งเป็นเสมือนจอรับภาพ ขณะที่มีการมองไกลจุดโฟกัสจะตกก่อนจอรับภาพ ดังนั้นเลนส์ที่ใช้แก้ไขจะเป็นเลนส์ชนิดที่ชื่อว่าเลนส์เว้า มีลักษณะบางตรงกลางและหนาบริเวณขอบเลนส์ มีคุณสมบัติในการกระจายแสง ถ่างแสงออก เพื่อผลักให้จุดโฟกัสตกที่จอรับภาพพอดี ภาพที่เห็นจึงจะคมชัด สายตายาว แสงที่เข้าตาจะโฟกัสหลังจอรับภาพ เลนส์ที่ใช้แก้ไขคือเลนส์นูน ลักษณะคือตรงกลางหนา ขอบจะบางลง ทำหน้าที่ในการรวมแสง เพื่อดึงจุดโฟกัสให้มาด้านหน้าและตกบนจอรับภาพพอดี และสายตาเอียง คือกรณีที่ตำแหน่งของจุดโฟกัสมีมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง เกิดจากการที่กระจกตาหรือเลนส์แก้วตามีความโค้งที่ไม่เท่ากันในสองแกน เลนส์ที่ใช้แก้ไขเป็นเลนส์ที่ชื่อว่าเลนส์กาบกล้วยกรือแลนส์ทรงกระบอก เป็นเลนส์ที่มีกำลังในแนวหนึ่งมากกว่า ส่วนใหญ่ในผู้ที่มีสายตาเอียงจะมีสายตาสั้นหรือสายตายาวร่วมด้วย ฉะนั้น ในกรณีที่มีสายตาสั้น+เอียง จะใช้เลนส์กาบกล้วยชนิดเว้า และกรณีสายตายาว+เอียง จะใช้เลนส์กาบกล้วยชนิดนูนในการแก้ไขค่าสายตา เลนส์ชนิดต่อมาคือ “เลนส์สองชั้น” (Bifocal lens) เป็นเลนส์ที่มีสองค่าสายตา เพื่อแก้ไขปัญหาค่าสายตาได้สองระยะ เหมาะกับผู้ใหญ่ที่เมื่ออายุล่วงเข้าสู่ 40 ปีขึ้นไปแล้ว จะเกิดภาวะสายตายาวตามวัย เนื่องจากการทำงานของเลนส์ตาที่มีกำลังการเพ่งเมื่อมองใกล้ไม่เพียงพอติ่การใช้งาน […]

มาทำความรู้จักกรอบแว่นตากันเถอะ!

มาทำความรู้จักกรอบแว่นตากันเถอะ!

มาทำความรู้จักกรอบแว่นตากันเถอะ! วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับกรอบแว่นให้มากขึ้นกันค่ะ ปัจจุบันมีกรอบแว่นที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมากมาย หลากหลายทั้งดีไซน์ รูปร่าง เนื้อวัสดุและการใช้งาน สำหรับบทความในวันนี้จะเริ่มเจาะลึกกันตั้งแต่ Anatomy ของกรอบแว่นว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มีชื่อเรียกแตกต่างกันยังไง กายวิภาคกรอบแว่น โดยหลัก ๆ ที่เห็นกันโดยทั่วไปนั้น จะประกอบด้วย  2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ Frame fronts Temples Frame fronts คือส่วนที่เป็นกรอบแว่นด้านหน้า ซึ่งจะมีรูปทรง ดีไซน์แตกต่างกันไป เป็นบริเวณของกรอบแว่นสำหรับประกอบเลนส์ การใช้งานวางไว้หน้าตาตั้งอยู่บนสันจมูก Eyewire หรือ Rim คือส่วนขอบของกรอบแว่น สำหรับประกอบใส่เลนส์ โอบอุ้มรอบ ๆ เลนส์ในแว่นชนิดที่เป็นกรอบเต็ม กรอบบางชนิดมี Rim แค่ครึ่งหนึ่งของกรอบ อีกครึ่งจะเป็นเส้นเอ็น เราจะเรียกกรอบแบบนี้ว่า กรอบเซาะ และกรอบบางชนิดจะไม่มี Rim เลย จะยึดตัวเลนส์กับขาแว่นด้วยวิธีการเจาะในเนื้อเลนส์ เราจะเรียกว่า กรอบเจาะ Bridge หรือสะพานจมูก คือส่วนตรงกลางเชื่อมต่อกันกับ Rim แต่ละข้าง จะอยู่บริเวณเหนือสันจมูก […]

สายตาเอียงคืออะไร?

สายตาเอียงคืออะไร?

สายตาเอียงคืออะไร? มีหลายคนยังมีความเข้าใจที่ผิด ๆ ว่าสายตาเอียงเกิดจากการนอนเล่นโทรศัพท์ เขียนหรืออ่านหนังสือเอียง ๆ แต่แท้ที่จริงแล้วสายตาเอียงเกิดจากการที่ความโค้งของกระจกตาและเลนส์ไม่เท่ากัน จึงทำให้มีจุดโฟกัสในตามีมากกว่า 1 ตำแหน่ง ลองนึกภาพตามง่าย ๆ กระจกตาของคนสายตาปกติหรือคนที่มีค่าสายตาสั้นและยาว จะรูปร่างคล้ายลูกฟุตบอล แต่กระจกตาคนที่สายตาเอียงจะเป็นลักษณะลูกรักบี้แทน คือมีแนวหนึ่งจะความโค้งมากกว่าอีกแนวหนึ่ง หากแบ่งประเภทของสายตาเอียงตามแนวแกนเอียงแล้วจะแบ่งได้ 3 ประเภท With-the-rule (WTR) คือสายตาเอียงองศาในแนวนอน แกน 0-30 ͦ และ 150-180 ͦ Against-the-rule (ATR) คือสายตาเอียงองศาในแนวตั้ง แกน 60-120 ̊ Oblique astigmatism (OBL) คือสายตาเอียงองศาในแกนเฉียง มีตั้งแต่แกนเนว 30-60 ̊ และ 120-150 ̊ โรคทางตาบางโรคอาจทำให้เกิดสายตาเอียงได้ เช่น โรคต้อเนื้อ ที่มีพังผืดของเยื่อบุตายื่นเข้ากระจกตา ทำให้รูปร่างของกระจกตาไม่เรียบ, หรือโรคกระจกตาโป่งพอง ที่เกิดจากกระจกตาบางส่วนบางตัวลง เกิดการนูนตัวขึ้น ทำให้กระจกตาบิดเบี้ยวได้เช่นกัน เป็นต้น เมื่อกระจกตาไม่เรียบ […]

โรคเบาหวานขึ้นตา คืออะไร

โรคเบาหวานขึ้นตา คืออะไร

โรคเบาหวานขึ้นตา คืออะไร ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคเบาหวานกันเพิ่มมากขึ้น โรคเบาหวานถือว่าเป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคเบาหวานกันให้มากขึ้นกันค่ะ โดยเฉพาะโรคเบาหวานที่มีผลต่อดวงตาและการมองเห็น โรคเบาหวานนั้น คือโรคที่เกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนที่ชื่อว่าอินซูลิน ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ในกลุ่มคนที่เป็นเบาหวาน เมื่อเจาะเลือดตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากที่อดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting plasma glucose) จะพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ประเภทของโรคเบาหวาน สามารถจำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้ เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากการที่เซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย ทำให้ร่างกายขาดอินซูลิน มักจะพบในเด็ก เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง มักพบในผู้ใหญ่ หรือในบุคคลที่มีน้ำหนักเกิน เป็นเบาหวานประเภทที่พบบ่อยสุด เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ สามารถเกิดได้ทุกระยะการตั้งครรภ์ แต่มักเกิดช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์ โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ เช่น โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น   สิ่งที่น่ากังวลในผู้ที่มีภาวะเบาหวานคือภาวะแทรกซ้อนจากโรค เพราะหากผู้ป่วยไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้หลายระบบของร่างกาย ทั้งแต่ระบบหลอดเลือดและหัวใจ […]

Scroll to Top